ขวัญชมัย ชาวใต้ Art Director สาว กับบทบาทการเป็น Food Stylist

ใครจะคิดว่า Art Director ของนิตยสารที่ทำงานออกแบบผ่านคอมพิวเตอร์จะสวมบทบาทเป็น Food Stylist ได้เช่นกัน สำหรับสาวคนนี้  ขวัญชมัย ชาวใต้ หรือ “จี๊ด” เธอมีความชำนาญควบคู่กันกับงานออกแบบทั้ง 2 ประเภท 

Jeez1

ขวัญชมัย ชาวใต้ จบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อนจะเลือกศึกษาต่อในคณะศิลปกรรมศาสตร์  ภาควิชานฤมิตศิลป์ สาขาเรขศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาวเก่งคนนี้นอกจากจะมีประสบการณ์ทำหน้าที่ควบคุมทิศทางการออกแบบให้กับนิตยสารแฟชั่นหลายเล่ม อาทิ นิตยสาร MTV TRAX, KNOCK KNOCK, RAY, S CAWAII แล้ว ปัจจุบันเธออยู่ในตำแหน่ง Art Director ให้กับ Women’s Health Thailand แต่ก็ยังทำหน้าที่เป็น Food Stylist คอยจัดองค์ประกอบอาหารในคอลัมน์ของนิตยสารอีกด้วย

ผลงานการออกแบบที่ภาคภูมิใจ

1. ผลงานออกกแบบรูปเล่มและปกนิตยสาร MTV TRAX ปี 2006 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ การที่เราได้ออกแบบปกจนถึงเล่มสุดท้ายทำให้รู้สึกว่างานเราได้เป็นประวัติศาสตร์ ได้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือในกระแสยุคนั้น

MTVTRAX2006-12-047_00-001

2. ผลงานการเป็น Food Stylist ให้กับนิตยสาร Women’s Health Thailand เป็นงานที่เราภูมิใจมากกับการได้จัดอาหารถ่ายในคอลัมน์ จากตอนแรกที่เราเป็น Art Director มาช่วยดูองค์ประกอบภาพโดยรวมที่จะเอาไปจัดวางในคอลัมน์ว่าในภาพมีพื้นที่วางข้อความไหม หรือโทนสี แสง ไปในทางเดียวกันไหม พอดูไปดูมาแล้วบางทีไม่ถูกใจหรือคิดว่าถ้าเป็นเราจะจัดแบบนี้แบบนั้นมันก็ซึมซับไปไม่รู้ตัว จากนั้นพี่บก. ก็ให้โอกาสเราลองจัดเองบ้างเพราะเห็นว่าพื้นฐานก็เป็นคนชอบทำอาหารหรือขนมอยู่แล้ว และรู้ว่าอาหารแต่ละอย่างควรพรีเซ้นต์ออกมายังไง ก็เลยได้ลองจัดอาหารมาจนถึงทุกวันนี้

11030_10152876150749604_3931051591509011318_n

แรงบันดาลใจในการทำงานด้านการออกแบบ

จากการที่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ ชอบคิดนอกกรอบ และชอบดูภาพสวยๆ สีสวยๆ ในโฆษณาตามนิตยสารมาตั้งแต่เด็กเลยทำให้ชอบวาดรูปมาก และเป็นแรงบันดาลใจให้เรียนทางด้านออกแบบ นอกจากนี้เรายังพื้นฐานในการเป็นคนชอบกินและชอบทำอาหารและขนมมาก เวลาทำอาหารเสร็จแล้วก็จะถ่ายรูปเก็บไว้ ถ่ายเฉยๆ มันก็จะดูเฉยๆ เลยเกิดไอเดียลองจัดวางให้มันแปลกตาหรือมุมมองอื่นดูบ้างเพื่อให้น่าสนใจหรือเพิ่มมูลค่ามากขึ้นจึงได้โอกาสในการทำอาชีพ Food Stylist นี้ขึ้น

1601239_10152873792784604_222217376639217067_n

แนวทางการออกแบบ

แนวทางในการออกแบบจะยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก 50% + ไอเดียต่อยอดอีก 40% + สไตล์ส่วนตัวและท้ศนคติของเราอีก 10%

Beauty-Lab1-1การเป็น Art Director ลักษณะงานมักจะเป็นการดูภาพโดยรวมให้ออกมาในทิศทางเดียวกัน แต่เวลางานออกมาก็จะมีบางสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวเราที่ชัดเจนเสมอ อย่างเช่น ตัวเราเองเวลาออกแบบชอบใช้  head font เก๋ๆ เท่ๆ  ใหญ่ๆ ที่สะดุดตา ซึ่งจะสามารถดึงดูดความสนใจให้หยุดมองได้ อันนี้สามารถใช้ได้ดีเวลาแก้ปัญหาเรื่องรูปที่ต้องใช้ในคอลัมน์ที่ไม่สวยพอหรือเป็นภาพบุคคลทั่วไป

cover-yayaแต่สำหรับการเป็น Food Stylist เราสามารถออกแบบงานได้อิสระมากกว่า สามารถใส่สไตล์ที่เราชื่นชอบเข้าไปได้ แต่ก็ยังต้องมีความเป็น commercial art ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ โดยต้องมีกระบวนการคิดอย่างมีระบบ โดยเริ่มต้นอาจสเก็ตซ์ภาพที่ต้องการคร่าวๆ ก่อน จากนั้นก็หา reference แสงและองค์ประกอบภาพเพื่อเป็นแนวทางให้กับช่างภาพและตัวเรา ภาพในหัวจะได้ออกมาเหมือนกัน โดยต้องสร้างสไตล์และรสนิยมที่เป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ของเราจะเป็นแบบ “เยอะแต่ต้องหยุดมอง” และมีจุดเด่น จุดรองที่ชัดเจน

10801750_10152876151374604_1922322016143465925_nแนวคิดที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน

“ฟังให้เยอะ คิดให้มาก ทำทันที”

Role Model ในการทำงานที่ชอบคือ โอปราห์ วินฟรีย์ (Oprah Winfrey) พิธีกรทอล์คโชว์ชื่อดังและเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของโลก เธอเป็นได้ทุกอย่างทั้งเจ้าแม่วงการสื่อ นักแสดง ผู้อำนวยการสร้าง โฆษก เจ้าของหนังสือนิตยสารอีกหลายเล่ม เป็นนักจัดรายการวิทยุ และนอกจากนี้เธอก็ยังได้รับการลงคะแนนเสียงเป็นผู้หญิงคนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลกด้วย

สิ่งสำคัญในความสำเร็จทางอาชีพพิธีกรของเธอ คือความเชื่อและการใส่ใจในเรื่องรอบตัว และเมื่อเอาใจใส่ในคำพูดของคนอื่นสิ่งนี้ก็จะแปรเป็นพลังหลักที่ช่วยให้ชนะใจคนฟัง และทำให้คำพูดของเธอมีความน่าเชื่อถือ เราชอบที่เธอเป็นคนคิดบวกแม้ว่าในอดีตเธอเคยผ่านปัญหาที่หนักหนาสาหัสมามากมายแต่เธอก็ไม่เคยท้อ ไม่เคยทำให้คุณค่าในตัวเองลดน้อยลงไปเลย มีแต่จะพัฒนาศักยภาพตัวเองให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ชอบแนวความคิดอีกอย่างหนึ่งของเธอคือ “ลองทำในสิ่งที่คิดว่าทำไม่ได้ ลองล้มเหลวและเริ่มใหม่ โดยทำให้ดีกว่าเดิม คนที่ไม่เคยล้มเหลว คือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย”

food-feat-jan1

ปัญหาและอุปสรรค์ที่เจอในการทำงาน

ปัญหาที่เจอส่วนใหญ่เป็นเรื่องความคิดและภาพในหัวไม่ตรงกันระหว่างลูกค้ากับนักออกแบบ และความต้องการของลูกค้าที่ไม่อาจเป็นไปได้ เช่น การรีทัชที่เพิ่มหรือตัดบางสิ่งออกที่สลับซับซ้อนมากไป หรือการบรีฟงานที่ไม่เคลียร์ เวลาที่เร่งรัด เป็นตัน

วิธีในการรับมือกับปัญหาคือ ลิสต์ความต้องการของลูกค้าเป็นข้อๆ แล้วเช็คลิสต์ทีละข้อ อย่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้งให้ลองถามความคิดเห็นของหลายๆ คนประกอบการตัดสินใจ อย่ามีอีโก้

food-feat-jan2

ส่วนปัญหาในการทำงาน Food Stylist เราต้องทำงานแข่งกับเวลาส่วนใหญ่ที่เจอมักจะเป็นเรื่องของแสงธรรมชาติที่เราไม่สามารถคควบคุมได้ บางทีลองเซ็ตแสงก่อนแล้วกลับมาจัดอาหารภายในเวลาอันแป็บเดียวแสงอาจเปลี่ยนได้ เราต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้เป็น มีแผน 2 แผน 3 สำรอง หรืออย่างพวกผักต่างๆ ซึ่งเหี่ยวเร็วมาก ต้องพยายามให้แห้งและเย็นอยู่เสมอ เวลาใช้งานก็ควรมีวัตถุดิบสำรองไว้ด้วย

food-feat-jan3

การทำงานกับอาหารต้องรู้ถึงธรรมชาติของอาหารนั้นๆ อย่างเช่น ถ่ายเครื่องดื่มต้องมีการซ้อมวางตำแหน่งและแสงให้โอเคก่อน แล้วค่อยเอาของจริงมาถ่ายโดยใช้เวลาให้เร็วที่สุดไม่งั้นอาจมีปัญหาเรื่องน้ำแข็งละลายหรือละอองน้ำเกาะรอบแก้วมากไป หรือถ้าเป็นอาหารต้มๆ แกงๆ ก็อย่าให้ร้อนมากไป เพราะไอควันอาจทำให้ภาพออกมาดูไม่ดีนัก เป็นต้น

cover-rita

มุมมองต่อวงการออกแบบ

วงการออกแบบในยุคปัจจุบันเป็นอะไรที่มาไวไปไวมาก วันนี้ทันสมัยพรุ่งนี้เอ้าท์ เราต้องออกแบบยังไงก็ได้ให้อยู่ได้นานๆทุกยุคทุกสมัย อย่าไปยึดติดกับแฟชั่นหรือเทรนด์มากนัก ให้มองการณ์ไกลและกว้างๆ ให้มาก และถ้าจะให้ดีเราควรเป็นผู้นำและ input สิ่งดีๆ สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่ด้วย

ส่วนของวงการ Food Stylist สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญก็คือต้องเสาะแสวงหาความรู้และพัฒนารูปแบบการตกแต่งที่แปลกใหม่อยู่เสมอเพราะอาชีพนี้ไม่มีถูกผิด จานไหนสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงกับความคิดที่วางไว้ นั้นถือว่าประสบความสำเร็จ และในขณะนี้ตลาดต้องการอาชีพนี้มากขึ้น เห็นได้จากปัจจุบันคนไทยคำนึงถึงการกินอาหารให้ถูกสุขลักษณะขึ้น หน้าตาของอาหารจึงมีผลต่อการดึงดูดของผู้บริโภค ก่อให้เกิดความใส่ใจในรายละเอียดของการกินอาหารมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่ออาชีพนี้ที่มีตลาดรองรับมากขึ้นทุกวัน

Jeez2

เป้าหมายและความสำเร็จที่มุ่งหวัง

การที่เราได้ทำงานในสิ่งที่รักเรื่อยๆ แม้ว่าอาจจะไม่ใช่งานที่สร้างรายได้หลัก แต่ก็เป็นงานที่ทำแล้วเรามีความสุข และอยากพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อยๆ อาจลองสิ่งแปลกๆใหม่ๆ ในงานด้านอื่นดูบ้าง อย่างเช่น งานปั้น งานมัดย้อม งาน craft ไม้ อยากรู้ให้ลึกลงไปในรายละเอียดของแต่ละงานด้วย

สไตล์งานออกแบบที่ชื่นชอบ

ชอบงานสไตล์ kinfolk (www.kinfolk.com) เป็นงานที่มี space สวย ไดเร็คชั่นชัดเจนเป็นเอกลักษณ์ ส่วนด้าน Food Stylist ชอบอาหารที่ Jamie Oliver ทำ เพราะอาหารแต่ละจานของเค้าทำง่ายและออกมาสวยได้แบบธรรมชาติไม่ต้องประดิษฐ์มาก และชอบงานหนังสือเค้ามาก หลายๆเ ล่มของเค้าเพิ่มแรงบันดาลใจให้งานของเราได้

fitness-feat-1

มุมมองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางออกแบบที่จะช่วยแก้ปัญหา

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาลูกโซ่ที่ไม่มีวันแก้ไขได้หมด แก้ปัญหานี้หมดไปอีกปัญหาหนึ่งก็เกิดขึ้นตามมา ส่วนใหญ่เราจะแก้กันที่ปลายเหตุ และก็เนื่องจากเราทุกคนเห็นความสะดวกสบายกับความเร่งรีบทำมาหากินในชีวิตประจำวันมากกว่าปัญหาส่วนรวมในระยะยาวด้วย ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเป็นปัญหาที่คุ้นชินในการที่อยู่กับมันไปซะแล้ว ฉะนั้นงานออกแบบแนวรณรงค์จึงจำเป็นมากที่จะเข้ามาช่วยและทำให้เข้าถึงคนหมู่มากได้ แต่จะทำอย่างไรให้ไม่น่าเบื่อและดูง่าย สมัยนี้งานออกแบบแนว Infographic จึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพราะเป็นงานกราฟฟิคผสมกับภาพประกอบ โดยทำเป็นชาร์ตหรือตาราง มีลำดับการดูที่เป็นระเบียบ ใช้ตัวเลขให้ดูง่ายขึ้น

Sajeerat Putruengsak

ศจีรัตน์ พุฒเรืองศักดิ์ (ลูกท้อ) จบศึกษาในระดับปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต (นศม.) ภาควิชาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบรรณาธิการ/นักเขียน ที่มีประสบการณ์ในด้านสื่อสารมวลชนทั้งในฐานะสื่อมวลชนระดับมืออาชีพ สำหรับสื่อแนวไลฟ์สไตล์ สื่อศิลปะการออกแบบ และงานตำแหน่งบริหารในสายธุรกิจแวดวงบันเทิง รวมถึงเป็นอาจารย์พิเศษของสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำต่างๆ อาทิ สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ, สาขาวิทยุโทรทัศน์และวารสารศาสตร์ โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และ สาขาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

You may also like...