ห้องรับประทานอาหาร

แม้ว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันจะเปลี่ยนไปจากแต่ก่อนมากในเรื่องของการกินอยู่ โดยเฉพาะกิจกรรมการหุงหาอาหารกินร่วมกันในครัวเรือน ซึ่งดูจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้แค่สำหรับคนบางกลุ่ม และเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับคนบางกลุ่ม

แต่เมื่อคิดถึงการมีบ้านเป็นของตัวเอง คงไม่มีใครละเลยที่จะต้องมีห้องรับประทานอาหารซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ใช้สอยส่วนสำคัญ

การล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกันของคนเรา เป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงระดับความสัมพันธ์ เพราะธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะมีการแก่งแย่งอาหารกันกินเพื่อความอยู่รอด แต่ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันเป็นฝูง ก็จะมีการแบ่งปันอาหารที่หามาได้กับสมาชิกในฝูง การหันหน้าเข้าหากันหรือการร่วมกินอาหารด้วยกัน เป็นหนึ่งในกระบวนการปฏิสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานของสังคมมนุษย์ เป็นสัญลักษณ์ของการยอมรับในความเป็นพวกพ้องและมิตรภาพ การกินอาหารร่วมกันเป็นขั้นตอนสำคัญในการผูกสัมพันธ์ของผู้คน ทั้งในสังคมขนาดเล็ก เพื่อนฝูง คนรัก ครอบครัว สังคมธุรกิจ เรื่อยไปจนถึงสังคมระดับประเทศ ก็อาศัยการกินดื่มสังสรรค์เป็นเครื่องมือในการประสานสัมพันธ์เช่นเดียวกัน

เพราะห้องรับประทานอาหารไม่ได้เป็นเพียงห้องสำหรับจัดวางโต๊ะเก้าอี้ และโต๊ะอาหารของครอบครัวนั้นก็มีความหมายมากกว่าความเป็นโต๊ะสำหรับรับประทานอาหาร หากแต่ยังเป็นพื้นที่ในการพบปะ พูดคุย ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ในบางโอกาสห้องรับประทานอาหารอาจทำหน้าที่เป็นห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น หรือห้องประชุมย่อมๆ เพราะการรับประทานอาหาร พักผ่อน พูดคุย เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่อง ห้องรับประทานอาหารโดยมากจึงควรมีด้านหนึ่งอยู่ใกล้กับห้องรับแขกและนั่งเล่น ส่วนอีกด้านหนึ่งติดต่อกับห้องครัว หรืออาจจะติดกับห้องเตรียมอาหาร (แพนทรี) สำหรับบ้านขนาดใหญ่ ก่อนถึงห้องครัว

การออกแบบตกแต่งห้องอาหารใช้หลักการเดียวกันกับการตกแต่งพื้นที่ส่วนกลางของบ้านโดยทั่วไป คือให้มีรูปแบบที่เป็นกลางๆเพื่อตอบสนองความพึงพอใจโดยรวมของสมาชิกในบ้าน มีขนาดพื้นที่เพียงพอสำหรับจัดวางโต๊ะเก้าอี้ตามจำนวนสมาชิก และควรมีพื้นที่เพียงพอสำหรับทำตู้เก็บของซึ่งอาจเป็นเคาน์เตอร์หรือตู้ติดผนัง ซึ่งเป็นตู้สำหรับเก็บช้อนส้อม ถ้วยจานชาม รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นสำหรับโต๊ะอาหารเช่น ที่เปิดขวดไวน์ จานรองแก้ว ฯลฯ โดยเน้นให้สามารถรองรับกิจกรรมการใช้งานได้เต็มที่ ใช้วัสดุที่สามารถดูแลทำความสะอาดได้ง่ายในทุกส่วน

วัสดุปูพื้นห้องอาหารใช้ ปาร์เก้ กระเบื้องเซรามิค หรือกระเบื้องยาง การใช้หินอ่อน หรือวัสดุที่มีผิวสัมผัสลื่นอื่นๆอาจทำให้หกล้มได้ถ้ามีอาหารหกเลอะเทอะหรือเปียก ควรหลีกเลี่ยงการปูพรมเพราะสกปรกได้ง่าย ผนังห้องรับประทานอาหารควรเปิดกว้างในทิศทางที่ลมพัดเข้าได้ มีช่องเปิดให้ลมร้อนและกลิ่นควันระบายออก มีหน้าต่างประตูในทิศที่หันออกสู่สนามหรือสวนสามารถเปิดให้เห็นทัศนียภาพภายนอกได้ในขณะรับประทานอาหาร และควรมีประตูปิดกั้นระหว่างห้องอาหารกับห้องรับแขกเพื่อป้องกันกลิ่นรบกวน โดยอาจเป็นประตูบานเลื่อนกระจก เพื่อรักษาความเชื่อมต่อทางสายตา สามารถเปิดถึงกันได้ในเวลาที่ไม่มีกลิ่นอาหาร วัสดุตกแต่งผนังสำหรับห้องอาหาร เลือกใช้วัสดุที่มีความคงทนถาวร สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ผิวสัมผัสเรียบ ไม่ดูดซับฝุ่นละออง และไม่ดูดซับกลิ่น การใช้วัสดุพวกวอลเปเปอร์แม้จะสวยงาม แต่ยากต่อการทำความสะอาด ไม่ทนต่อความชื้น หากจะใช้วอลเปเปอร์ตกแต่งห้องรับประทานอาหารควรเลือกชนิดที่มีผิวเรียบ มีลวดลายหรือรูพรุนน้อย มีสีสันสะอาดตา

รูปร่างของห้องอาหาร สามารถออกแบบให้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากขนาดของโต๊ะอาหารจะกว้างประมาณ 90 ซม. เมื่อรวมกับพื้นที่วางเก้าอี้สองด้านอีกประมาณ 80 ซม. ด้านที่แคบที่สุดของห้องรับประทานอาหารจึงไม่ควรต่ำกว่า 2.50 เมตร ส่วนด้านยาวนั้นขึ้นกับจำนวนเก้าอี้ ห้องรับประทานอาหาLenovo ThinkCentre M91p 0266 AC Adapterรที่ออกแบบเป็นรูปวงกลม จะเหมาะกับการจัดโต๊ะเป็นรูปวงกลม เช่น โต๊ะจีน แต่จะมีปัญหาในการทำตู้เก็บของและการจัดผังให้สอดรับกับส่วนอื่นๆของบ้าน

การให้แสงสว่างในห้องรับประทานอาหาร สำหรับบ้านโดยทั่วไปควรเป็นแสงสว่างที่เพียงพอ แต่นุ่มนวล ไม่สว่างจ้าจนเกินไป การออกแบบไฟแสงสว่างสำหรับห้องรับประทานอาหารที่ต้องการความหรูหรา อาจมีบางจุดที่ออกแบบให้สว่างมาก สว่างน้อยแตกต่างกันเพื่อให้เกิดความสวยงาม ดูมีมิติ แต่สำหรับบริเวณโต๊ะรับประทานอาหารจะต้องให้มีแสงสว่างมากที่สุดเพื่อส่องให้เห็นอาหารได้ชัดเจน

การออกแบบห้องรับประทานอาหารที่ใช้งานได้ไม่สะดวก หรือมีลักษณะเป็นทางการจนเกินไปจะทำให้มีการใช้งานจริงได้น้อย สมาชิกในบ้านอาจคุ้นเคยกับพฤติกรรมที่จะตักอาหารมานั่งรับประทานเดี่ยวๆในห้องนั่งเล่น หรือในห้องส่วนตัว บ้างก็แยกไปนั่งรับประทานกันห้องครัว อาจจะรับประทานในเวลาต่างกัน สิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ หากมองข้ามไปก็จะทำให้สมาชิกในบ้านสูญเสียโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กัน อาจไม่ได้ใกล้ชิดสนิทสนมกันเท่าที่ควร ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ในระยะยาวได้อย่างคาดไม่ถึง

……………..
เรียบเรียงโดย
อ. วรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์
dp@dp-studio.com

tul

อาจารย์พรทิพย์ ทองขวัญใจ หรือที่ลูกศิษย์ลูกหาเรียกขานกันอย่างสนิทสนมว่า ครูตุล เป็นสาวเก่งผู้มากด้วยความพรสวรรค์ด้านศิลปะ เป็นผู้กว้างขวางในแวดวงศิลปะ เธอจึงให้เกียรติมาเป็นนักเขียนกิตติมศักดิ์ของ LivingDD.com เพื่อนำเราไปสัมผัสกับไลฟ์สไตล์เก๋ๆ ที่ชวนติดตาม

You may also like...